วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Mainboard(วิธีเลือกซื้อเมนบอร์ด)



Mainboard (เมนบอร์ด) หลายๆท่านเวลาซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่อง สิ่งแรกที่ท่านดูก็คือCPU RAM แต่ สิ่งที่ท่านมองข้ามและสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆเลยก็คือ เมนบอร์ด ผมเป็นคนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับเมนบอร์ดมากๆ โดยที่ ทุกครั้งที่ประกอบเครื่องคอมพ์ สักตัวหนึ่งสิ่งแรกที่ทำคือเลือกเมนบอร์ด
เพื่อนๆผมหลายๆคน ต้องการซื้อคอมพ์ประกอบเองแต่ไม่มีความรู้ ก็มาไหว้วานให้ไปเป็นเพื่อนผมก็มักจะปฎิเสธไม่ได้เสมอๆ จึงอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นแนวทางอีกอย่างหนึ่งในแง่มุมที่ผู้อ่านอาจจะไม่เคยมองเห็นว่า เมนบอร์ดมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ??
การจะประกอบคอมสักเครื่องหัวใจหลักผมยกให้ เมนบอร์ดไม่ใช่ CPUเพราะในการอัพเกรดอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงการต่อพ่วง หรือแม้กระทั่งโมดิฟายขีดจำกัด การอัพเกรดจะอยู่ที่ Mainboard ครับลองคิดดูว่าหากอยากจะเปลี่ยนแรมจาก DDR2 667 MHz มาเป็น DDR2 800 MHz แต่บัสของMainboardรองรับได้แค่ 667 MHz ก็น่าเสียดายที่อัพเกรดไม่ได้ ดังนั้นถ้าคิดจะอัพเกรดในภายภาคหน้าให้เลือกเมนบอร์ดที่สามารถอัพเกรดได้ไม่ติดขัด หากไม่คิดจะอัพเกรดก็ไม่จำเป็นจะต้องซื้อMainboardเกินตัว
อยากใช้สเปคแรงแค่ไหน Mainboard นี่แหละตัวควบคุมสเปคเหล่านี้เลยมาดูกันว่า Mainboard บอกอะไรกับเราบ้าง
1.CPU ปัจจุบันมี 2ค่ายคือ Intel และ AMD ต้องการใช้ค่ายไหนก็เลือก SOCKET Mainboard ให้ตรงกับCPUด้วยนะครับ แล้วCPU แต่ละรุ่น จะมีSOCKETแตกต่างกันตามการผลิตเช่น CPU Intel รุ่นเก่าๆหน่อยจะ เป็น SOCKET 458(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) แต่ปัจจุบัน SOCKET ของ INtel ทุกรุ่นจะเป็น SOCKET 775 ทั้งหมด ไล่ตั้งแต่ตระกูล Pentium ไปจนถึงCore 2 Duo เลย ตอนนี้ปี2009 Intel กำลังจะเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่หันไปใช้ SOCKET ใหม่ซึ่งใช้กับCPU Core i7 แล้วSOCKET 775ก็จะเริ่มถูกแทนที่ด้วยSOCKETใหม่ตัวนี้ จนกระทั่งหมดความนิยมไป
2.Chipset (ชิปเซ็ท)Chipset เรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของเมนบอร์ดทุกรุ่นเลยก็ว่าได้ประสิทธิภาพของเมนบอร์ดมีชิปเซ็ทเป็นตัวบ่งชี้ ยิ่งชิปเซ็ทมีประสิทธิภาพสูงการคอนโทรลอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกชิ้นยิ่งมีประสิทธิภาพสูงตามไปด้วย
Chipsetมีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต่อพ่วงเข้ามากับตัวเมนบอร์ดจะมีChipset 2ตัวคือ Chipset NorthBridgeและChipset SouthBridgeChipset NorthBridge จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงจำพวก CPU RAM และ GraphicardChipset SouthBridge จะควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่มีความเร็วต่ำเช่น Harddisk Printer DVD-Writer เป็นต้นนอกจากนี้ยังรวมไปถึงการควบคุมระบบชั้นสูงเช่น Multi GPU , RAID , Over Clock เป็นต้น
Chipset มีการพัฒนาออกมาเรื่อยๆประสิทธิภาพการทำงานก็ดีขึ้นตามแต่ละชิปเซ็ทดังนั้นการเลือกซื้อChipsetให้เหมาะกับการใช้งานต้องอาศัยประสบการณ์และการค้นคว้าหาข้อมูลของChipsetแต่ละตัวว่ามีความสามรถจัดการ อุปกรณต่างๆได้ดีเพียงไรปัจจุบันในปลายปี2008-ต้นปี2009 Chipset Intelที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสูงคือ Chipset P45
ยกตัวอย่างเช่น Chipset A มีระบบ Dual Chanelแต่ Chipset B ไม่รองรับระบบ Dual Chanel
เมนบอร์ด Chipset A เมื่อเปิดใช้งานระบบ Dual Chanelของ RAM จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ RAM ดีกว่าเพราะว่าRAMวิ่งรับส่งข้อมูลแบบ 2ทาง
3.Slot PCI Mainboard ในปัจุบันจะมี Slot PCI , PCI 1x , PCI 16xมาให้อยู่แล้ว แต่จะกล่าวถึง Slot PCI 16x เนื่องจากเป็น SLOT ที่ใช้เสียบการ์ดจอ ดังนั้น การเลือกแบบ มี 1Slot หรือ2Slot ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าจะใช้การ์ดจอกี่ตัว ส่วนSLOT PCI ,PCI 1x จะใช้กับการ์ดต่อพ่วงความเร็วต่ำเช่น การ์ดTV , Soundcard เป็นต้น
4.Port IDEและSATA2IDEและSATA2 มีไว้ต่อกับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีมาให้ทั้ง 2พอร์ทแต่บอร์ดรุ่นเก่าๆจะไม่มีพอร์ท SATA2 มาให้ข้อแตกต่างของการเชื่อมต่อทั้ง2พอร์ทนี้คือ IDE/ATAจะต่อด้วยสายแพ 40-80เส้นตามแต่ละอินเตอร์เฟซ แต่SATA2 จะใช้สายแพขนาดเล็ก7เส้นเป็นตัวรับส่งข้อมูลซึ่งมีความเร็วสูงกว่าIDEมาก จะใช้ฮาร์ดดิสก์แบบใด ใช้กี่ลูกก็อย่าลืมดูจำนวนพอร์ทด้วยนะครับ
5.พอร์ทอื่นๆ -พอร์ท USB ปัจจุบันจะมีติดกับบอร์ดมาให้แบบพอเพียง-พอร์ท LAN จะมีแบบ 10/100 และ 1000(กิกะบิทแลน)เลือกใช้กันตามสะดวกนะครับ-พอร์ทพริ้นเตอร์ พอร์ทเหล่านี้มักจะมีมาให้อย่างเพียงพอกับการใช้งานเสมอครับ
6.การเลือกวัสดุการผลิตส่วนประกอบของเมนบอร์ด จะประกอบไปด้วยแผ่นวงจรหรือที่รียกกันว่าแผ่นปริ๊นท์-Capacitor(คาปาซิเตอร์)ตัวเก็บประจุ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกหุ้มด้วยพลาสติกด้านอกแต่ความจริงแล้วข้างในเป็นกระดาษชุบสารกึ่งตัวนำไฟฟ้าเวลาใช้ไปนานๆ จะเกิดอาการบวม จนถึงระเบิดก็มีในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะหันไปใช้ คาปาซิเตอร์แบบใหม่ที่เป็นกระป๋องอลูมีเนียมแทน นอกจากจะมีอายุการใช้ที่นานกว่าแบบเดิมแล้ว ยังสามารถเก็บประจุได้ดีกว่า การั่วไหลของประจุน้อย ลดความร้อนที่เกิดขึ้นและทนแรงดันได้สูงทำให้สามารถ Over Clock ได้เสถียรขึ้นในสภาพที่ป้อนแรงดันสูงๆคาปาซิเตอร์รุ่นใหม่นี้เรียกว่า Solid Capacitor

-Choke ตัวสำรองไฟ เป็นเสมือนหม้อแปลงขนาดเล็กคอยสำรองไฟเพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรย่อยในเมนบอร์ดตัวสำรองไฟรุ่นเก่าจะเป็นแกนโลหะพันด้วยทองแดง ซึ่งเกิดความร้อนสูง การนำกระแสไฟฟ้าไม่ดีเท่าที่ควรจึงมีการพัฒนารูปแบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า MOSFET จะใช้เปลี่ยนจากแกนโลหะเป็นแกรเฟอร์ไรท์ที่มีประสิทภาพดีกว่าแบบแกนโลหะและ หุ้มด้วยกล่องขนาดเล็กอย่างดีไม่เห็นด้านใน
-ภาคจ่ายไฟ หากเป็นเมนบอร์ดทั่วไปคงไม่มีปัญหาเพราะเพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้วแต่บอร์ดที่ ต้องยัดอุปกรณ์แรงๆ มีการเรียกใช้ไฟฟ้ามหาศาล จึงจำเป็นจะต้องมีภาคจ่ายไฟที่สามารถจ่ายไฟได้เพียงพอต่อความต้องการในทันที เมนบอร์ดบางตัวมีภาคจ่ายไฟ8เฟสเลยก็มีแต่ถามว่าภาคจ่ายไฟหลายๆเฟสดีไหม ตอบว่าดีที่ไม่แย่งกันออกมาแบบเฟสน้อยๆแต่ต้องดู Power Supply ด้วยว่าถ้าจ่ายไฟไม่พอจะมีกี่เฟสก็ไม่ช่วยอะไรครับ
7.ต่อเนื่องมาจากข้อ2เรื่องชิปเซ็ทความสามรถบางตัวของเมนบอร์ดที่เราไม่ได้ใช้งาน หากเราซื้อมาแล้วก็ถือว่าเสียตังซื้อมาเปล่าๆเช่น ฟังก์ชั่น MUlti GPU (Cross Fire / SLI) ซึ่งราคาเมนบอร์ดที่มีกับไม่มีฟังก์ชั่นนี้ ราคาจะต่างกันพอสมควรเลยหรือจะเป็น รุ่นOVER Clock ถ้าซื้อมาแล้วไม่ได้OVER Clock ก็หันไปใช้รุ่นธรรมดาดีกว่าเพราะราคาค่าตัวต่างกันหลายตังค์อยู่
ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า...การเลือกซื้อสินค้าอะไรสักอย่างหากศึกษาข้อมูลให้เข้าใจแล้วรับรองว่าคุ้มค่ากับเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เสียไปแน่นอนครับ
www.truecom.co.cc